Quantcast
Channel: research – Lampang.net
Viewing all articles
Browse latest Browse all 21

บทเรียนจากการส่งเสริมการดูแลสุขภาพ แบบมีส่วนร่วมของพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเยาวชนจังหวัดลำปาง

$
0
0

 

poster

poster

มีการประชุมสมัชชาสุขภาพลำปาง ครั้งที่ 4 ประจำปี 2559
เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2559 ณ ห้องประชุม อบจ.ลำปาง
และมีการนำเสนอผลงาน พบ โปสเตอร์นำเสนอผลการวิจัย
[เรื่อง] บทเรียนจากการส่งเสริมการดูแลสุขภาพ
แบบมีส่วนร่วมของพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเยาวชนจังหวัดลำปาง
[โดย] กาญจนา ภาสุรพันธ์, อรนุช ดวงเบี้ย,
บุรินทร์ รุจจนพันธุ์, สุมาฬ พรมรุกขชาติ และนงเยาว์ อุดมวงศ์

[ความเป็นมา]
การพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
ทางสมัชชาสุขภาพลำปาง ได้เสนอขอใช้งบประมาณยุทธศาสตร์จังหวัด
เพื่อพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชนจังหวัดลำปาง
ตามมติสมัชชาสุขภาพปี 2557 มติที่ 1 โดยมีสาธารณสุขจังหวัดลำปาง
เป็นผู้ขับเคลื่อนรวมกับพื้นที่ทั้งหมด 4 อำเภอ ๆ ละ 2 ตำบล รวม 8 ตำบล
ระยะเวลาดำเนินของโครงการ 1 ปี ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2558 ถึงกันยายน 2559
[วัตถุประสงค์ เพื่อถอดบทเรียน]
1. การสร้างแกนนำเยาวชน
2. การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่เด็กและเยาวชน
[วิธีการศึกษา]
เป็นการศึกษาเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม รวบรวมข้อมูล
ด้วยการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง การใช้แนวคำถามเจาะลึก
การสนทนากลุ่มและการสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่
ตัวแทนนักเรียนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยข้อง คือ บุคลากรทางสุขภาพ
ผู้ปกครอง บุคลากรจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำท้องที่
แกนนำชุมชน ผู้ทรงคุณวุฒิ อาสาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
และตัวแทนประชาชนของพื้นที่ 4 อำเภอ คือ อำเภอแม่เมาะ
ประกอบด้วยตำนบนาสัก และตำบลจางเหนือ อำเภองาว ประกอบด้วย
ตำบลบ้านร้อง และตำบลแม่ตีบ อำเภอแม่พริก ประกอบด้วย
ตำบลแม่พริก และตำบลแม่ปุ อำเภอเมืองปาน ประกอบด้วย
ตำบลเมืองปาน และตำบลแจ้ซ้อน
[ผลการศึกษา พบว่า]
1. ด้านการสร้างแกนนำเยาวชน โดยใช้กระบวนการเรียนรู้
ในการพัฒนา พบว่าทุกตำบลได้แกนนำเยาวชนที่มีคุณสมบัติที่ชุมชน
มีความพึงพอใจและเยาวชนมีความภูมิใจที่ได้รับการยอมรับ
เช่น การมีแกนนำจิตอาสาเยี่ยมผู้สูงอายุ แกนนำให้ความรู้
และให้คำปรึกษา และแกนนำทำโครงการเพื่อต่อยอดในปีต่อไป
2. ด้านการมีส่วนร่วม พบว่า ทุกภาคส่วนได้ให้ความร่วมมือในการขับเคลื่อน
การเป็นพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชน ได้แก่ ภาคส่วนองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
ผู้นำท้องที่ แกนนำชุมชน ผู้ทรงคุณวุฒิ พระสงฆ์ ปราชญ์ชาวบ้าน โดยเฉพาะบุคลากรด้านสุขภาพ
และอาจารย์ของโรงเรียน นอกจากนี้ ยังมีภาคประชาสังคม
ซึ่งถือเป็นภาคส่วนที่สำคัญยิ่งในการขับเคลื่อนและหนุนเสริม

[ข้อเสนอแนะ]
การพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชนให้เหมาะสม
กับบริบทของพื้นที่ การมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนสำคัญอย่างยิ่ง
โดยเฉพาะกลุ่มของเยาวชนต้องมีส่วนร่วม และเป็นแกนนำอย่างแท้จริง
จึงจะทำให้เขาสามารถพึ่งตนเองได้ในที่สุด

การประชุมวิชาการ

การประชุมวิชาการ

คลิ๊ปเสียงในการสัมมนาภาคเช้า
http://thaiabc.com/lampangnet/admin/2362/

บรรยากาศภายในงาน

บรรยากาศภายในงาน

บรรยากาศที่ ต.นาสัก อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1419095521437908.1073742001.506818005999002

ประชุมเตรียมความพร้อม
https://www.facebook.com/pg/ajarnburin/photos/?tab=album&album_id=1385096828171111

ประกาศแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ
http://www.4shared.com/office/lu6NcaLrce/sub_committee_health_59.html
https://www.facebook.com/groups/thaiebook/687416824742472/

โปสเตอร์นำเสนอการทำงานของเยาวชน

โปสเตอร์นำเสนอการทำงานของเยาวชน


Viewing all articles
Browse latest Browse all 21

Trending Articles